วันนี้สถาบันสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ Engcouncil จะมานำเสนอบทความว่าด้วยเรื่องของ คำสันธาน(Conjunction) ซึ่งเป็นคำที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของคำ กลุ่มคำ และ ประโยค ทำให้สามารถเข้าใจความหมายของประโยคเหล่านั้นได้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น
คำสันธาน คือคำที่ใช้เชื่อมความ ซึ่งได้แก่ คำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคที่สมบูรณ์สองประโยคเข้าด้วยกัน (coordinating conjunction) คำสันธานที่ใช้นำหน้าประโยคย่อยไม่อิสระใน complex sentence (subordinating conjunction) และคำสันธานแบบคำคู่ (paired conjunction)
1 Coordinating Conjunction
คือคำสันธานที่ใช้เชื่อมเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำ กลุ่มคำ หรือเชื่อมประโยคย่อยอิสระที่อยู่ใน compound sentence เช่น and, but, yet, or, nor, neither, for, so เป็นต้น โดยหากเป็นการเชื่อมประโยคย่อยอิสระใน compound sentence คำเชื่อมเหล่านี้จะอยู่ระหว่าง clause ทั้งสองและมีเครื่องหมายจุลภาค , (comma) คั่น ในกรณีที่ประโยคที่เชื่อมต่อกันค่อนข้างสั้น สามารถละเครื่องหมายจุลภาคได้
1) and ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เสริมกัน (showing addition)
My husband and I are going to Rayong this weekend.
My favorite pastimes are playing sports and listening to music.
I wrote to Kimberly on Tuesday and received her reply on Saturday morning.
2) but, yet ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ขัดแย้งกัน (showing concession or contrast)
These shoes are old but comfortable.
Jane likes the piano but prefers to play the harpsichord.
Carol is rich, but Robert is poor.
3) or ใช้แสดงความสัมพันธ์ประเภทเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง (showing alternatives)
You can have the black kitten or the white dog.
You can email or fax us the details of the program.
She wants to watch TV or (to) listen to some music.
4) nor, neither ใช้ในความหมายตรงข้ามกับ or กล่าวคือใช้แสดงความสัมพันธ์ในเชิงปฏิเสธ
หมายถึง ไม่ทั้งสองอย่าง (showing no alternatives)
Laura has not left, nor is she planning to leave.
These people are not insane, nor are they fools.
I was not happy, and neither were they.
5) for ใช้แสดงสาเหตุหรือเหตุผล (showing causes or reasons)
I went to bed, for I was tired.
I’m taking an English class, for I want to improve my English skills.
I’m afraid I can’t accept your invitation, for I have to go on a business trip to Japan.
6) so ใช้แสดงผล (showing results)
Victor liked the necktie, so he bought it.
She felt hungry, so she took a lunch break.
John’s car is in the repair shop, so he has to take a taxi to work.
2 Subordinating Conjunction
คือคำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคย่อยไม่อิสระ/ประโยคใจความรอง (dependent/subordinate clause) ประเภท adverb clause เข้ากับประโยคย่อยอิสระ/ประโยคใจความหลัก (independent/main clause) ใน complex sentence เพื่อแสดงความสัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ อาทิ กิริยาอาการ สถานที่ เวลา เหตุผล ผล จุดประสงค์ การขัดแย้งหรือแตกต่างกัน การเปรียบเทียบ คำสันธานในกลุ่มนี้ เช่น as if, in a way that, where, wherever, when, before, because, since, so that, so, although, whereas, as … as, more … than, if, unless เป็นต้น
1) ข้อความแสดงลักษณะอาการ (manner) เป็นการอธิบายลักษณะอาการหรือเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการกระทำในประโยคใจความหลัก คำสันธานที่ใช้ เช่น as (ตามที่), in a/the way that (แบบ/ตามวิธีการแบบ), like (เหมือนกับ), unlike (ไม่เหมือนกับ), as if/as though (ราวกับว่า) เป็นต้น
Please submit the report by January 16 as I requested earlier.
He handled the situation in the way that I like.
Like every other student, Ladda had difficulty with tenses.
2) ข้อความแสดงสถานที่ (place) เป็นการอธิบายขยายความการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความหลัก เพื่อให้ทราบว่าเกิดขึ้นที่ใด คำสันธานที่ใช้ เช่น where (ที่ที่), wherever (ที่ใดก็ตามที่) เป็นต้น
Put this document where it belongs.
We will accompany you wherever you go.
3) ข้อความแสดงเวลา (time) เป็นการอธิบายขยายความการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความหลัก เพื่อให้ทราบว่าการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด ก่อนหรือหลังการกระทำ/เหตุการณ์ใน adverb clause คำสันธานที่ใช้ เช่น as/while (ขณะที่), as soon as (ทันทีที่), since (ตั้งแต่), until/till (จนกระทั่ง), when (เมื่อ), whenever (เมื่อใดก็ตามที่), before (ก่อนที่), after (หลังจากที่), soon after (ภายหลังไม่นาน) เป็นต้น
The woman slipped as she was getting off the train.
While we are considering your request, you should prepare all necessary documents.
I’ll leave for the funeral as soon as the meeting ends.
4) ข้อความแสดงเหตุผล (reason) เป็นการอธิบายขยายความเกี่ยวกับเหตุผลของการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความหลัก คำสันธานที่ใช้ เช่น as/since/because (เพราะว่า) เป็นต้น
As I was feeling tired, I went to bed early.
I see my parents quite often as they live near me.
Since we had nothing better to do, we watched television the whole evening.
5) ข้อความแสดงจุดประสงค์ (purpose) เป็นการอธิบายขยายความว่าการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความหลักมีจุดประสงค์ใด คำสันธานที่ใช้ เช่น so that/in order that (เพื่อที่) เป็นต้น
I’ll give her my email address so that she can contact me.
I spoke very slowly in order that the students could understand what I said.
6) ข้อความแสดงผล (result) เป็นการอธิบายผลของการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความหลัก คำสันธานที่ใช้ เช่น so (ดังนั้น), so … that/ such … that (มากจนกระทั่ง) เป็นต้น
I have too much work to do, so I can’t go to my friend’s birthday party tonight.
He worked so hard that he became ill.
It was such lovely weather that we spent the whole day in the garden.
7) ข้อความแสดงความแย้งหรือตรงกันข้ามกัน (concession/contrast) เป็นการให้ข้อมูลที่แย้งหรือตรงกันข้ามกับการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความหลัก คำสันธานที่ใช้ เช่น although/though/even though (ถึงแม้ว่า), while/whilst/whereas (ในขณะที่) เป็นต้น
Although/Though/Even though it was cold, I went swimming.
I like coffee while/whereas my husband likes tea.
8) ข้อความแสดงการเปรียบเทียบ (comparison) เป็นการอธิบายเปรียบเทียบความต่างระหว่างการกระทำ/เหตุการณ์ใน adverb clause กับประโยคใจความหลัก คำที่ใช้ เช่น as … as (เท่ากับ), not as … as (ไม่เท่ากับ), -er/more … than (มากกว่า), -er/less … than (น้อยกว่า) เป็นต้น
There’s plenty of food, so please eat as much as you like.
Jane isn’t as old as she looks.
The government has taken this current crisis more seriously than ever.
9) ข้อความแสดงเงื่อนไข (condition) เป็นการอธิบายว่าการกระทำ/เหตุการณ์หนึ่งเป็นผลมาจากอีกการกระทำ/เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเป็นเงื่อนไข โดย adverb clause เป็นส่วนที่แสดงเงื่อนไข และประโยคใจความหลักเป็นส่วนที่แสดงผลของการกระทำ คำที่ใช้แสดงเงื่อนไข เช่น if (ถ้า), unless (ถ้าไม่), as long as (ตราบเท่าที่) เป็นต้น ซึ่งประโยคเงื่อนไขและประโยคที่แสดงผลของเงื่อนไขมีโครงสร้างประโยคหลายแบบ (ดูโมดูลที่ 12 Complex Sentences: Adverb Clauses)
Please do not hesitate to call me if you have further questions.
If I could afford it, I would buy a house.
Unless Tim hurries, he will miss the bus.
3 Paired Conjunction หรือ Correlative Conjunction
คือคำสันธานแบบคำคู่ที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคย่อยอิสระใน compound sentence ได้แก่ both … and (ทั้ง … และ …), not only … but also (ไม่เพียงแต่ … เท่านั้น แต่ยัง … อีกด้วย), either … or (ไม่…ก็…), neither … nor (ไม่ทั้ง … และไม่ทั้ง …)
I enjoy singing. I enjoy dancing.
I enjoy both singing and dancing.
Rice is grown in our country. Wheat is grown in our country.
Both rice and wheat are grown in our country.
Susan looked to the right before crossing the street.
Man needs food. Man needs shelter.
Man needs not only food but also shelter.
The teacher objected to the change in the curriculum. The students objected to the change in the curriculum.
Not only the teacher but also the students objected to the change in the curriculum.
You can go. You can stay.
You can either go or stay.
You can have your party at my house. You can have your party at your parents’ house.
You can have your party at either my house or your parents’.
He doesn’t speak loudly. He doesn’t speak clearly.
He speaks neither loudly nor clearly.
We don’t have food until the end of the week. We don’t have money until the end of the week.
We have neither food nor money until the end of the week.
Tomatoes are not good for this season. Beans are not good for this season.
Neither tomatoes nor beans are good this season. (ขอให้สังเกตว่าเมื่อใช้ neither … nor เชื่อมประธานสองตัว คำกริยาจะใช้สอดคล้องกับประธานที่อยู่ใกล้คำกริยามากที่สุด ในที่นี้ใช้ are สอดคล้องกับ beans)
My sister isn’t here. My parents aren’t here.
Neither my sister nor my parents are here. (ขอให้สังเกตว่าเมื่อใช้ neither … nor เชื่อมประธานสองตัว คำกริยาจะใช้สอดคล้องกับประธานที่อยู่ใกล้คำกริยามากที่สุด ในที่นี้ใช้ are สอดคล้องกับ my parents)
Henry wasn’t there. George wasn’t there.
Neither Henry nor George was there.
The news did not distress him. The news did not delight him.
The news neither distressed nor delighted him.
Ref.School of Liberal Arts. Sukhothai Thammathirat Open University.