คำกริยาวิเศษณ์ (adverb)
คำกริยาวิเศษณ์ คือคำที่ใช้ขยายคำกริยาหรืออธิบายลักษณะการกระทำกริยานอกจากนี้ยังใช้ขยายคำคุณศัพท์ และบางคำใช้ขยายคำกริยาวิเศษณ์ด้วยกันได้คำกริยาวิเศษณ์มีทั้งที่เป็นคำเดียวและเป็นกลุ่มคำ
ประเภทและตำแหน่งของคำกริยาวิเศษณ์
คำกริยาวิเศษณ์มีหลายประเภทและจะวางไว้ตำแหน่งใดขึ้นอยู่กับประเภทของคำกริยาวิเศษณ์นั้น ๆ ประเภทของคำกริยาวิเศษณ์มีดังนี้
1) คำกริยาวิเศษณ์ที่อธิบายลักษณะการกระทำกริยา (Adverb of Manner)
คำกริยาวิเศษณ์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่ในภาษาอังกฤษ เช่น lazily, beautifully, strictly, helpfully ซึ่งจะตอบคำถาม how? ดังตัวอย่างต่อไปนี้
The boy is sitting lazily under a tree in the garden. (อธิบายว่านั่งอย่างไร)
เป็นการตอบคำถาม ‘how?’
Question: How is the boy sitting?
Answer: He is sitting lazily.
ตัวอย่างประโยคแสดงตำแหน่งของ adverb of manner
The boy is sitting lazily under a tree in the garden.
The singer sang beautifully.
The singer sang the song beautifully.
The instructor helpfullyexplained each student’s mistakes.
The 16-year-old girl drove carelessly along the road.
Carefully the old lady walked across the busy street.
คำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้วางไว้ได้หลายตำแหน่ง คือ หลังคำกริยาหรือหลังกรรม เมื่อคำกริยานั้นมีกรรมซึ่งอาจจะเป็นท้ายประโยคเลยก็ได้ แต่บางครั้งถ้ามีคำกริยาวิเศษณ์ประเภทอื่น ในประโยคด้วย อาจจะอยู่หน้าคำกริยาวิเศษณ์นั้น
ตำแหน่งอื่นที่วางคำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้ไว้ได้ คือหน้าคำกริยา และในกรณี ที่ต้องการเน้นคำขยายสามารถวางไว้หน้าประโยคได้ แต่คำกริยาวิเศษณ์ต้องเป็นคำโดด ๆ
2) คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกสถานที่การกระทำกริยา (Adverb of Place)
คำกริยาวิเศษณ์กลุ่มนี้ใช้บอกสถานที่ เช่น there, in the (place), here, away, somewhere, nowhere, upstairs, etc. ซึ่งจะตอบคำถาม where? ดังตัวอย่างต่อไปนี้
My brother sat there.
His sister is working in the library. (กลุ่มคำทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์)
He bought the book here.
ทั้ง 3 ประโยคนี้ คำกริยาวิเศษณ์ตอบคำถาม where?
Question: Where did your brother sit?
Answer: He sat there.
ตัวอย่างประโยคแสดงตำแหน่งของ adverb of place
I left my handbag on the desk.
When I came back I couldn’t find my handbag there.
I tried to look for my handbag everywhere.
Please help me carry this box upstairs.
My handbag wasn’t there when I came back.
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าคำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้ต้องวางไว้หลังคำกริยาหรือหลังกรรม เมื่อคำกริยานั้นมีกรรมซึ่งอาจจะเป็นท้ายประโยคเลยก็ได้
คำกริยาวิเศษณ์ here, there ใช้ตามหลัง verbs: be/come/go ได้ และสามารถใช้ในรูปประโยคเช่นนี้ได้
Here comes the policeman.
There goes the train. We are only a half a minute late.
ในกรณีเช่นนี้เป็นการเน้นคำขยาย
3) คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกเวลาในการกระทำกริยา (Adverb of Time)
คำกริยาวิเศษณ์กลุ่มนี้ใช้บอกเวลา เช่น now, tomorrow, recently, afterwards, at once, since then, etc. ซึ่งจะตอบคำถาม when? ดังตัวอย่างต่อไปนี้
My brother is leaving now.
His sister will fly to England tonight.
They play tennis in the afternoon. (กลุ่มคำทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์)
ในทั้ง 3 ประโยคนี้ คำกริยาวิเศษณ์ตอบคำถาม when?
Question: When will his sister fly to England?
Answer: She will fly to England tonight.
ตัวอย่างประโยคแสดงตำแหน่งของ adverb of time
Eventually Mary came to join us. / Mary came to join us eventually.
Then everybody left for the show. / Everybody left for the show then.
Please do the work now. Don’t wait until/till tomorrow.
He always returns home late.
Please come immediately. I have something to show you.
จากตัวอย่างประโยคจะเห็นได้ว่า ส่วนมากแล้วคำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้จะต้องวางไว้หลังคำกริยาหรือหลังกรรม เมื่อคำกริยานั้นมีกรรม ซึ่งอาจจะเป็นท้ายประโยคเลยก็ได้คำกริยาวิเศษณ์บางคำ เช่น eventually, then, etc. สามารถนำมาไว้หน้าประโยคได้เมื่อ ต้องการเน้นคำขยาย
** คำกริยาวิเศษณ์ที่อธิบายลักษณะการกระทำกริยา (adverb of manner) คำกริยาวิเศษณ์ที่ บอกสถานที่การกระทำกริยา (adverb of place) และคำกริยาวิเศษณ์ที่บอกเวลาในการกระทำกริยา (adverb of time) เมื่อนำมาใช้ในประโยคเดียวกัน มักจะเรียงดังนี้
ยกเว้น คำต่อไปนี้ away, back, down, forward, home, in, off, on, out, round, up และ here, thereจะต้องวางไว้หน้า adverb of manner
4) คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ (Adverb of Frequency)
คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ เป็นคำกริยาวิเศษณ์ที่บอกว่ากริยาที่คำกริยาวิเศษณ์ขยายนั้นมีการกระทำบ่อยอย่างไร แบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่ม A: เช่นคำต่อไปนี้ always, usually, frequently, often, sometimes, occasionally, periodically, repeatedly, continually, once, twice, etc. มีความหมายเป็นเชิงบวก (positive) และใช้กับกริยา affirmative หรือ negative ได้ เช่น
-He always goes to school very early.
-We did not always go to school by taxi.
กลุ่ม B: เช่นคำต่อไปนี้ ever, hardly ever, never, rarely, scarcely (ever), seldom, etc. มีความหมายเป็นเชิงลบ (negative) และใช้กับกริยา affirmative
-Mike has never eaten Indian food before.
-We seldom go to the cinema because we do not have much time.
-Brian had scarcely started his car when one of the front tires went flat.
คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ตอบคำถาม how often? ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-He frequently comes to class late.
-We sometimes go shopping at the Mall.
ใน 2 ประโยคนี้ คำกริยาวิเศษณ์ตอบคำถาม how often?
Question: How often does he come to class late?
Answer: Always. He always comes to class late.
การใช้คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่
มักจะใช้กับ simple present tense แต่ใช้กับ tense อื่น ๆได้ เช่น
It is rarely cold in Bangkok.
We sometimes visit our relatives in the North.
It never snows in Thailand.
Jane and Mary frequently went swimming at the university pool.
Have you ever visited England?
We have never tried Indian food before.
ตำแหน่งของคำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ต้องวางไว้ดังนี้
หลัง BE แต่หน้ากริยาทั่วไปในประโยคที่เป็น simple tense
-He is always late for the first class.
-We sometimes go shopping at the mall.
-Those boys never ate the fruit before.
คำกริยาทั่วไปที่อยู่ในรูป tense ที่มีกริยาช่วย เช่น ใน continuous tense, perfect tense, etc. คำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้ต้องวางไว้หลังกริยาช่วย ถ้ามีกริยาช่วย 2 ตัว ต้องวางไว้หลังกริยาช่วยตัวแรก เช่น
-I could never understand what he said.
-The children have often been told to be careful when crossing the road.
คำกริยาวิเศษณ์ทั้งในกลุ่ม A บางคำ และในกลุ่ม B บางคำ วางไว้หน้าหรือท้าย clause หรือหน้า/ท้ายประโยคได้ แต่คำว่า always ใช้เช่นนี้ไม่ได้ ยกเว้นในประโยค imperative ดังในตัวอย่าง
-Sometimes the children walked to school by themselves.
-Hardly ever did he have time to enjoy himself like the other boys of his age.
-He always comes to class late.
-Always bring a dictionary with you.
คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกจำนวนครั้งที่แน่นอน เช่น once, twice, three times, daily, etc. วางไว้เกือบท้ายประโยคหรือต้นประโยคก็ได้ ดังในตัวอย่าง
-The light went out twice yesterday.
-Once I got stuck in the lift at my office.
คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ที่ใช้บ่อย เรียงลำดับจากมากไปน้อย
always, usually, frequently, often, sometimes / occasionally, seldom / hardly ever / rarely, never,
once, twice, etc.
5) คำกริยาวิเศษณ์บอกปริมาณ (Adverb of Degree)
คำกริยาวิเศษณ์บอกปริมาณ เป็นคำกริยาวิเศษณ์ที่ขยายคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์อื่น เช่น absolutely, almost, barely, completely, enough, entirely, fairly, far, hardly, just, much, nearly, quite, really, rather, so, too, very, etc. ดังตัวอย่าง
The two ladies are almost ready.
This article is really interesting and it is quite easy to understand.
This handwriting is absolutely impossible to read.
The child is not old enough to go to school.
The child didn’t walk quickly enough. So he was left far behind.
The girl is too young to go to school.
The man drove too fast.
Jane is much taller than her sister.
Jane is far taller than her sister.
ในประโยคตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า
1. คำกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้วางไว้หน้าคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ที่คำกริยาวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายความ ยกเว้น enough จะอยู่หลังคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์
2. far และ much ใช้ขยายคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ ใน comparative degree นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มได้จัดกลุ่มคำกริยาวิเศษณ์ต่างไปจากนี้ โดยมีเพิ่มอีก 3 ประเภท คือ
6) คำกริยาวิเศษณ์ที่เน้นคำหรือข้อความ (Focus Adverb)
คำกริยาวิเศษณ์เหล่านี้ เช่น only, just, really, too ใช้เพื่อเน้นความที่ต้องการสื่อ จึงมักวางไว้ชิดกับคำที่ต้องการขยาย เช่น
Mr. Brown has only one son. (He has no more than one.)
Just write your name over this line. (This is all you have to do.)
7) คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกทัศนคติ (Viewpoint Adverb)
คำกริยาวิเศษณ์เหล่านี้ เช่น generally, hopefully, surely, clearly, probably, certainly, etc. วางไว้ต้นประโยค หรือหน้ากริยาหลักหรือกริยาช่วย เช่น
Clearly, the truck driver should have stopped when he saw the train coming.
Hopefully, the president will change his mind.
She probably did not understand the notice on the front gate.
John certainly saw the message we left, so he did not call us.
8) คำกริยาวิเศษณ์เชื่อมความ (Conjunctive Adverb)
คำกริยาวิเศษณ์เหล่านี้ เช่น however, moreover, therefore, as a result, consequently, etc. ใช้เพื่อเชื่อมความที่เป็นความแย้งกัน ความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน เป็นต้น วางไว้ต้นประโยคหรือบางคำวางไว้ระหว่างความที่ต้องการเชื่อม ซึ่งมักจะคั่นด้วย semicolon (;) เช่น
He was ill; however, he went to the meeting.
He drove too fast; as a result, he was fined.
Kelly did not go to the party because she had to finish her assignment;
moreover, she had to study for the final examination.
หมายเหตุ คำกริยาวิเศษณ์บางคำมีรูปเหมือนกับคำคุณศัพท์ ทำให้สับสนเวลานำไปใช้ คำเหล่านี้เมื่อ ใช้เป็นคำคุณศัพท์ จะขยายคำนามและจะวางไว้หน้าคำนาม หรือใช้เป็น complement ตามหลัง BE หรือ
linking verb เมื่อใช้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ จะใช้กับกริยาทั่วไป
Ref. School of Liberal Arts. Sukhothai Thammathirat Open University.