หลักการใช้ Gerund

หลักการใช้ Gerund ในภาษาอังกฤษ

วันนี้สถาบันสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ Engcouncil ขอนำเสนอหลักการใช้ Gerund หลายครั้งที่เราเจอกริยาเติม ing แล้วตัดสินเลยว่านี่คือคำกริยา แต่นั่นไม่ใช่เสมอไปค่ะ เพราะคำกริยาเติม ing ในภาษาอังกฤษมี 2 ประเภท คือ ประเภทแรกเรียกว่า present participle เป็นคำกริยาเติม ing เพื่อทำให้ประโยคนั้นเป็นรูป Continuous Tense และอีกประเภทหนึ่งคือ Gerund (เจอรันด์) เป็นกริยาเติม ing ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือน present participle เลย แต่กลับทำหน้าที่เป็น “คำนาม”

Gerund คืออะไร?

พูดง่าย ๆ เลยว่า Gerund คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม เรียกกันว่า กริยานาม

หน้าที่ของ Gerund คือ?

อย่างที่กล่าวแล้วว่า Gerund ทำหน้าที่เหมือนคำนาม สามารถอยู่ได้ทั้งหน้า กลาง และหลังของประโยค ดังนั้นคำนามทำหน้าที่อะไรได้ Gerund ก็ทำได้เช่นกัน ดังนี้

1. Gerund ทำหน้าที่เป็นประธาน (Subject) ของประโยค เช่น

   Eating vegetables and fruits is good for your health.
(การกินผักและผลไม้ดีต่อสุขภาพของคุณ)

   Getting a good job is not easy.
(การจะได้งานดี ๆ มันไม่ง่ายหรอกนะ)

 Fishing is fun.
(การตกปลาสนุกจัง)

2.Gerund ทำหน้าที่เป็นกรรม (Object) ของประโยค

แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
2.1.เป็นกรรมของกริยา transitive verb (vt) + gerund  **transitive verb คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ** เช่น

He enjoys reading.
(เขาสนุกกับการอ่านหนังสือ)

Tom avoided talking to his boss.
(ทอมหลีกเลี่ยงการคุยกับหัวหน้าของเขา)

I just can’t stop loving you.
(ฉันไม่สามารถหยุด(การ)รักคุณได้)

คำกริยาบางกลุ่มที่ต้องตามด้วย Gerund เช่น

  admit
(ยอมรับ)
  appreciate
(ซาบซึ้ง)
  anticipate
(คาดหวัง)
  avoid
(หลีกเลี่ยง)
  begin
(เริ่มต้น)
  can’t help
(ไม่อาจหยุดต่อการทำบางสิ่งได้)
  can’t stand
(ไม่อาจทนต่อการทำบางสิ่งได้)
  compare
(เปรียบเทียบ)
  confess
(สารภาพ)
  continue
(ต่อเนื่อง)
  consider
(พิจารณา)
  delay
(ทำให้ช้า)
  deny
(ปฏิเสธ)
  detest
(รังเกียจ)
  dislike
(ไม่ชอบ)
  escape
(หลบหนี)
  excuse
(แก้ตัว อ้าง)
  enjoy
(สนุก)
  fancy
(นึก จินตนาการ)
  finish
(เสร็จ)
  forget
(ลืม)
  forgive
(ยกโทษ)
  hate
(เกลียด)
  imagine
(จินตนาการ)
  intend
(ตั้งใจ)
  keep
(ทำบางอย่างต่อไป)
  like
(ชอบ)
  love
(รัก)
  mind
(รังเกียจ)
  miss
(พลาด)
  need
(จำเป็น)
  practice
(ฝึกฝน)
  prefer
(ชื่นชอบ)
  postpone
(เลื่อน)
  quit
(หยุด ล้มเลิก)
  recall
(หวนคิดถึง)
  recommend
(แนะนำ)
  regret
(เสียใจ)
  remember
(จำ)
  risk
(เสี่ยง)
  start
(เริ่ม)
  stop
(หยุด)
  suggest
(แนะนำ)
  tolerate
(อดทนต่อความยากลำบาก)
  try
(พยายาม)
  understand
(เข้าใจ)
  urge
(กระตุ้น)
  want
(ต้องการ)

2.2. Gerund เป็นกรรมของบุพบท (Prepositions) ตามกฎแล้วคำที่ตามหลังคำบุพบทต้องเป็นคำนาม แต่ถ้าจะตามด้วยคำกริยาต้องเป็น Gerund เช่น

Tom is good at playing football.
(ทอมเก่งในการเล่นฟุตบอล)

You can improve your English by using the internet.
(คุณสามารถพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณได้โดยการใช้อินเทอร์เน็ต)

We are looking forward to going to Italy.
(เรากำลังตั้งตารอที่จะไปอิตาลี)

ระวัง! คำกริยาวลี (Phrasal Verbs) บางคำที่ประกอบด้วยคำว่า ‘to’ ที่เป็นคำบุพบท เช่น look forward to (ตั้งตารอ), take to (นำไปยัง), accustomed to (คุ้นเคย, เคยชิน), get around to (ได้ทำ, ทำเสร็จ) และ used to (เคยชิน) ดังนั้นต้องจำไว้เลยว่า ‘to’ ในกริยาวลีเหล่านี้เป็นคำบุพบท จึงต้องตามด้วย Gerund

3.Gerund เป็นส่วนเติมเต็มของประโยค (Complement) มักตามหลัง Verb to be เช่น

The knowledge is learning something everyday.
(ความรู้คือการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ทุกวัน)

The hardest thing about learning English is understanding the gerund.
(สิ่งที่ยากที่สุดเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษก็คือความเข้าใจเรื่องกริยานามนี่แหละ)

4.ใช้ Gerund ตามหลังคำคุณศัพท์บางคำเช่น

afraid of (กลัว), fond of (ชอบที่จะ), interested in (สนใจใน), proud of (ภูมิใจกับ), busy (ยุ่ง) เป็นต้น เช่น

They are afraid of losing the match.
(พวกเขากลัวแพ้การแข่งขัน)

นี่เป็นหน้าที่หลัก ๆ ของ Gerund ที่ต้องเรียนรู้และระมัดระวังหากเจอประโยคที่มี v-ing เราต้องพิจารณาดูให้ดีว่าเป็น Gerund หรือ present participle

Ref.englisch-hilfen